[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

  
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : \"เด็กป่วย\" นมแม่ยิ่งมีประโยชน์

จันทร์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 48  

"เด็กป่วย" นมแม่ยิ่งมีประโยชน์

แพทย์ชี้เด็กป่วยควรได้รับนมแม่ต่อเนื่องตั้งแรกเกิด ชี้ยิ่งเด็กป่วย นมแม่ยิ่งมีประโยชน์

กรมการแพทย์แนะเด็กป่วยควรได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง แนะแม่ให้นมลูกถึง 2 ขวบ เป็นภูมิคุ้มกันสารพัดโรคมีผลต่อพัฒนาการของสมอง ลดการติดเชื้อในเด็กป่วย ทำให้เด็กป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าเด็กป่วยที่ไม่ได้รับนมแม่ พร้อมแนะสายตรงโรงพยาบาลเด็ก 1415 โทรปรึกษาปัญหาเด็กป่วย

วันนี้ (11 มีนาคม 2558) ที่โรงแรมเซนจูรี่ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาตินมแม่ในเด็ก ป่วย ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดโดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรี แพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กรมอนามัย สภาการพยาบาล มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กลุ่มแม่ผู้มีประสบการณ์ ดูแลทารกเด็กป่วย ว่า จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ที่รับทารกป่วยจากโรงพยาบาลราชวิถี ปีละประมาณ 800 ราย และรับส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่วๆ ไป อีกประมาณ 400 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกป่วยหนักต้องอยู่ในหออภิบาลทารกป่วย ทารกที่ได้รับการผ่าตัดและทารกเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ พบว่า ทารกที่กินน้ำนมแม่อย่างเดียว นานติดต่อกัน 0-3 เดือน มีอัตราป่วยร้อยละ 26.32 เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่ไม่ได้กินน้ำนมแม่มีอัตราป่วยสูงถึงร้อยละ 45.45 และทารกที่กินน้ำนมแม่ อย่างเดียวนานติดต่อกัน 3-6 เดือน มีอัตราป่วยร้อยละ 32.5 เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่ไม่ได้กินน้ำนมแม่มีอัตราป่วยสูงถึง ร้อยละ 61.84 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุ ครบ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ยิ่งเด็กป่วย ยิ่งมีประโยชน์ กรมการแพทย์โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลทารกที่เจ็บป่วยในระดับตติยภูมิหรือสูงกว่าจึง สนับสนุนให้ทารกหรือเด็กเล็กที่เจ็บป่วยได้รับนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณค่าอย่างยิ่ง การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกและเด็กป่วยจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ ควรสนับสนุนและหากลวิธีที่จะช่วยให้แม่ได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูและรักษา ลูกร่วมกับทีมบุคลากรทางแพทย์ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สอดคล้องกับแนวทางสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมให้เด็กไทยเติบโต ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เจ็บป่วยบ่อย มีพัฒนาการที่ดี ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยมีวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ในเด็กป่วย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้รับความรู้และตระหนักถึงความสำคัญ มีความรู้ที่ทันสมัย ในการให้นมแม่ในทารกและเด็กป่วย รวมทั้งแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างแพทย์ พยาบาลที่ดูแลทารกในเขตประเทศในอาเซียน และสรุปผลการดำเนินการให้นมแม่ในทารกและเด็กเล็กป่วย โดยโรงพยาบาลนำร่อง 16 แห่ง เพื่อนำรูปแบบและแนวทางการปฏิบัติ ไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายของประเทศให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทั่วประเทศต่อไป

แพทย์หญิงศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า เด็กป่วย ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่ยังต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เด็กที่ต้องผ่าตัดรักษา จะต้องได้รับนมพิเศษ และไม่สามารถกินนมแม่ได้ แต่ในความเป็นจริง นมแม่คือนมที่เหมาะสมที่สุด และอาจต้องเสริมเกลือแร่ วิตามิน เฉพาะในกลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนด บางกลุ่ม การให้นมแม่ให้ได้ อาทิ ดูดากเต้านมหรือทางสายยาง หรือป้อนด้วยช้อน หรือแก้ว เมื่อโต และมีแรงดูดจากเต้า ก็เอาเข้าเต้าแม่ได้ ขอเน้นว่า น้ำนมแม่ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดที่เรียกว่า น้ำนมทอง ( colostrum) มีความสำคัญและคุณค่ามากกับทารก เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เป็นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ ที่แม่พัฒนาในตัวแม่ หลังได้รับเชื้อโรคต่างๆ นอกจากนั้น คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่จะคอยดักจับเชื้อโรค อีกมากมาย ยิ่งทารกที่ป่วย ยิ่งเป็นเรื่องดี เทียบไปแล้ว นมแม่ในระยะใดๆ เหมือนทารกได้ วัคซีนธรรมชาติ ได้ยา ขนานพิเศษ ที่ธรรมชาติ เตรียมให้ทารกไม่ป่วยบ่อย ป่วยแล้วก็หายง่าย ร่วมกับ การได้รับการดูแลใกล้ชิด ก็จะมีผลต่อพัฒนาการของสมอง จอประสาทตา การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ลดการติดเชื้อในเด็กป่วย โดยเฉพาะการอักเสบของลำไส้ ทำให้เด็กป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าเด็กป่วยที่ไม่ได้รับนมแม่ ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีตระหนักถึงความสำคัญของการให้นมแม่ทั้งใน เด็กป่วยและเด็กปกติจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อ เนื่อง อาทิ ให้แม่อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง ฝึกความพร้อมก่อนกลับบ้าน การจัดตั้งคลินิกนมแม่ รวมทั้งให้บริการทางโทรศัพท์สายด่วน 1415 สายตรงโรงพยาบาลเด็ก เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาสุขภาพทารกแรกเกิด เพื่อให้ทารกเติบโตมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพดีต่อไป


แหล่งข่าวโดย » ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์

เนื้อหาโดย : Sanook!



เข้าชม : 1126


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      15 ข้อควรรู้สำหรับนักวิ่งมือใหม่และมือโปร 2 / ต.ค. / 2558
      \"เด็กป่วย\" นมแม่ยิ่งมีประโยชน์ 10 / ส.ค. / 2558
      9 เคล็ดลับ กระชับหน้าท้องได้ทันใจ 26 / มิ.ย. / 2558
      แค่ยืน ก็ ลดความเครียดได้ 26 / มิ.ย. / 2558
      กำราบ ความดันโลหิตสูง 25 / มิ.ย. / 2558