นอกจากที่ “เหรียญกษาปณ์” จะมีค่าในฐานะที่เป็นวัตถุแทนเงินตรา ก็ยังมีคุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนการแสดงถึงความเป็นสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อีกด้วย
เริ่มแรกที่มีการใช้เหรียญกษาปณ์มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ น้ำหนัก ขนาด อัตราส่วนผสมของโลหะ และกรรมวิธีการผลิตเรื่อยมา จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยชนิดราคา 10 บาท , 5 บาท , 2 บาท , 1 บาท , 50 สตางค์ , 25 สตางค์ , 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ (โดยชนิด 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ ไม่ได้นำออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องการคำนวณตัวเลขต่างๆ ในทางบัญชี โดยเฉพาะการคิดภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเศษสตางค์ได้)
ซึ่งลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเหรียญนั้นจะเป็นลวดลายที่แสดงถึงสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคำว่า ประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันชาติ และด้านหลังเป็นรูปวัดต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันศาสนา
เหรียญ 1 สตางค์ - พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
เหรียญ 5 สตางค์ - องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
เหรียญ 10 สตางค์ - พระเจดีย์พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จ.สกลนคร
เหรียญ 25 สตางค์ - พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
เหรียญ 50 สตางค์ - พระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
เหรียญ 1 บาท - พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
เหรียญ 2 บาท - พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
เหรียญ 5 บาท - พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
เหรียญ 10 บาท - พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
ที่มา: http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9560000036913
เข้าชม : 3986
|