1. กินมะม่วงมากกว่าข้าวเหนียว เช่น กินมะม่วงสุกครึ่งลูก (ขนาดกลาง) จะได้พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรี ส่วนข้าวเหนียวมูนให้กิน 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะให้พลังงาน 280 กิโลแคลอรี เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับ 350 กิโลแคลอรี
2. กินข้าวเหนียวมะม่วงช่วง เวลากลางวัน กลางวันเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องใช้พลังงานทำกิจกรรมต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินมื้อเย็น เนื่องจากมีกิจกรรมที่ต้องทำน้อยกว่าช่วงกลางวัน พลังงานที่ได้รับเข้าไปอาจเผาผลาญและนำไปใช้ไม่หมด เกิดเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้
3. ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ต้องระมัดระวัง เพราะมีน้ำตาลและไขมันค่อนข้างสูง แนะนำให้กินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และควรลดปริมาณข้าวเหนียวลงให้เหลือสักครึ่งขีดกรณีที่ต้องการกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์
4.คนสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว อาจจะกินได้มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ต้องไม่ลืมว่าข้าวเหนียวมะม่วงให้พลังงานเทียบเท่ากับการกินอาหารมื้อ หลัก 1 มื้อเลยทีเดียว ต้องไม่ลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่กินเข้าไปด้วย ทางที่ดีไม่ควรกินเกิน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
5.เลือกกินข้าวเหนียวดำ (ถ้าเป็นไปได้) หรือข้าวเหนียวที่มูนด้วยน้ำกะทิที่ผสมสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน แครอต ขมิ้น และใบเตย เพราะจะได้รับสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าการกินข้าวเหนียวขาว
6.กินมะม่วงแก่จัด เพื่อให้ได้รสชาติดีและสารอาหารจากมะม่วงครบถ้วน ควรซื้อมะม่วงที่แก่จัด และควรปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ เนื่องจากมะม่วงที่บ่มแก๊สจะให้กลิ่นและรสที่ไม่ดีเท่ากับมะม่วงสุกตาม ธรรมชาติ วิธีการสังเกตคือ มะม่วงที่แก่จัดนั้นผลจะอวบ ด้านล่างของมะม่วงจะไม่แหลม ส่วนมะม่วงที่เก็บมาตอนไม่แก่จัด แล้วนำมาบ่มแก๊สผิวจะเหี่ยว
7. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ควรกินมะม่วงสุกแต่น้อย กินครั้งละไม่เกิน 1 ผล ขนาดกลาง และใน 1 สัปดาห์ไม่ควรกินเกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยโรคไตควรงดกินมะม่วงสุกเพราะมีปริมาณโพแทสเซียมสูง
อาหาร ทุกอย่างเปรียบเสมือนดาบสองคมคือมีทั้งประโยชน์และโทษ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน ถ้าเราเดินทางสายกลางกินแต่พอดี ก็จะไม่เกิดโทษ แต่หากกินมากเกินไปก็ให้โทษต่อร่างกายได้
เข้าชม : 1685
|