[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

  
 
เกี่ยวกับจังหวัดหนองคาย
 
จังหวัดหนองคาย
 จังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย

            

          รูปต้นไผ่ และหนองน้ำ เรียกว่า "หนองไผ่" เนื่องจากเป็นเมืองเก่า เดิมชื่อว่า " บ้านไผ่ " พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองขึ้น เมื่อปี พุทธศักราช 2370 โดยได้เลือกเอาบ้านไผ่เป็นที่ตั้งเมือง และให้ชื่อว่า " เมืองหนองคาย"

คำขวัญประจำจังหวัดหนองคาย
         "วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว"

ต้นไม้-ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
         ต้นชิงชัน-ดอกชิงชัน

สีประจำจังหวัดหนองคาย
         สีแดง-ดำ

พื้นที่จังหวัดหนองคาย
 จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับกำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
                         
มีจุดผ่านแดนไป ประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและ
                          เป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลีย-ไทย-ประเทศลาว ร่วมมือกันสร้างและเป็นประตู
                         ไปสู่อินโดจีน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอนายูง และอำเภอบ้านผือ
                      จังหวัดอุดรธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากชม จังหวัดเลย


การปกครองจังหวัดหนองคาย
         แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 62 ตำบล 722 หมู่บ้าน ดังนี้ 





     

          รายชื่อตำบลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ดังนี้   
            จังหวัดหนองคาย มีตำบลจำนวน 62 ตำบล จำนวน 722 หมู่บ้าน ดังนี้

 1. อำเภอเมืองหนองคาย  มีตำบลจำนวน 16 ตำบล 181 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

ในเมือง 17

2

มีชัย 9

3

โพธิ์ชัย 12

4

กวนวัน 7

5

เวียงคุก 8

6

วัดธาตุ 14

7

หาดคำ 16

8

หินโงม 8

9

บ้านเดื่อ 16

10

ค่ายบกหวาน 16

11

โพนสว่าง 10

12

พระธาตุบังพวน 14

13

หนองกอมเกาะ 12

14

ปะโค 7

15

เมืองหมี 7

16

สีกาย 8

 

รวม

181



 2. อำเภอท่าบ่อ มีตำบลจำนวน 10 ตำบล 100 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

ท่าบ่อ 5

2

กองนาง 13

3

น้ำโมง 13

4

โพนสา 10

5

บ้านถ่อน 8

6

หนองนาง 10

7

บ้านเดื่อ 9

8

บ้านว่าน 8

9

โคกคอน 7

10

นาข่า 8

 

รวม

100



3. อำเภอโพนพิสัย มีตำบลจำนวน 12 ตำบล 159 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

โพนพิสัย 10

2

จุมพล 26

3

วัดหลวง 16

4

กุดบง 14

5

เซิม 11

6

นาหนัง 17

7

ผือ 8

8

โพธิ์ 13

9

ชุมช้าง 19

10

เหล่าต่างคำ 15

11

สร้างนางขาว 8

12

ทุ่งหลวง 12

 

รวม

159



4. อำเภอศรีเชียงใหม่ มีตำบลจำนวน 4 ตำบล 43 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

พานพร้าว 15

2

บ้านหม้อ 8

3

พระพุทธบาท 10

4

หนองปลาปาก 10

 

รวม

43


5. อำเภอสังคม มีตำบลจำนวน 5 ตำบล 36 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

แก้งไก่ 6

2

ผาตั้ง 7

3

บ้านม่วง 7

4

นางิ้ว 9

5

สังคม 7

 

รวม

36


6. อำเภอสระใคร มีตำบลจำนวน 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

สระใคร 15

2

คอกช้าง 13

3

บ้านฝาง 13

 

รวม

41


7. อำเภอเฝ้าไร่ มีตำบลจำนวน 5 ตำบล 73 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

เฝ้าไร่ 17

2

หนองหลวง 20

3

วังหลวง 15

4

อุดมพร 14

5

นาดี 7

 

รวม

73


8. อำเภอรัตนวาปี มีตำบลจำนวน 5 ตำบล 62 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

รัตนวาปี 12

2

นาทับไฮ 11

3

บ้านต้อน 9

4

พระบาทนาสิงห์ 17

5

โพนแพง 13

 

รวม

62


9. อำเภอโพธิ์ตาก มีตำบลจำนวน 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่

 

ตำบล

 

จำนวนหมู่บ้าน

1

โพธิ์ตาก 7

2

โพนทอง 11

3

ด่านศรีสุข 9

 

รวม

 

27

 
ประวัติย่อ ความเป็นมาของจังหวัดหนองคาย 
        จังหวัดหนองคาย มีประวัติความเป็นมายาวนานประมาณ 200 ปีเศษ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เจ้าอนุวงศ์กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ยกกองทัพผ่านหัวเมืองรายทางมาจนถึงนครราชสีมา ทางกรุงเทพฯ ได้โปรดให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาปราบ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ยกกองทัพมาจากเมืองยโสธร และ พระยาเชียงสา มาช่วยเป็นกำลังสำคัญ ในที่สุดสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ไปกรุงเทพฯจนสำเร็จและได้พระราชทานบำเหน็จ ล่วงมาถึง 21 เมษายน พ.ศ.2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เป็นพระปทุมเทวาภิบาล ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรก และให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย
      
  ในปี พ.ศ.2434 ภายหลังกบฏฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน ตั้งที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองหนองคาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ไทยเสียดินแดน ฝั่งซ้ายของแม่น้าโขงให้แก่ฝรั่งเศส และได้ระบุในสัญญาว่าห้ามมิให้ไทยตั้งหรือนำกองทัพทหารอยู่ในเขต 25 กิโลเมตร จากชายแดน กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจึงทรงย้ายที่ทำการมณฑลฯ ไปอยู่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง และตั้งเป็นมณฑลอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองพื้นที่ขึ้นโดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2458 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งสถาปนาเมืองข้าหลวงปกครอง ซึ่งต่อมาเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ
        ในปี พ.ศ.2554 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.2554 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554) มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย

ผู้บริหารจังหวัดหนองคายปัจจุบัน
   


นายสุชาติ นพวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย

              

 
               นายอโณทัย  ธรรมกุล                 นายประสงค์  คงเคารพธรรม
รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย     รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย


เข้าชม : 22427