ประวัติความเป็นมาของอำเภอโพธิ์ตาก
เมื่อประมาณ 30 ปี ล่วงมาแล้ว ชาวพวนโดยกําเนิดเดินทางข้ามโขงจากเมืองพวน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มายังฝั่งประเทศไทยเพื่อทําการค้าขาย ได้มาพบบ้านโพธิ์และเห็นว่าที่ แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทํามาหากิน จึงตั้งหลักปักฐาน ณ ที่แห่งนี้ และบริเวณที่ตั้งบ้านนี้มีต้นโพธิ์ ใหญ่ ลําต้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 5 วา แผ่กิ่งก้านสาขาโดยรอบประมาณ 8 วา ผู้ที่อพยพก่อตั้งหมู่บ้านจึงใช้ ชื่อว่า “บ้านโพธิ์ตาก” ตั้งแต่นั้นมาก็มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาสร้างบ้านแปลงเมืองที่บ้านโพธิ์ตาก และอยู่ ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศแบ่งเขตการปกครองจากอําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอําเภอโพธิ์ตาก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 มีเขตการปกครองรวม 3 ตําบล คือ ตําบลโพธิ์ตาก ตําบลโพนทอง ตําบลด่านศรีสุข ปัจจุบันที่ว่าการอําเภอโพธิ์ตาก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตําบลโพธิ์ตาก ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 และย้ายที่ทําการกิ่งอําเภอโพธิ์ตากมายังที่ทําการหลังใหม่ เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2549 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อําเภอโพธิ์ตาก โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ปีเดียวกัน
ที่ตั้งและอาณาเขตอําเภอโพธิ์ตากตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครอง ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอศรีเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอศรีเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอท่าบ่อ และอําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และอําเภอสังคม
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาคอําเภอโพธิ์ตากแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตําบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่
1. โพธิ์ตาก (Pho Tak) 7 หมู่บ้าน
2. โพนทอง (Phon Thong) 99 หมู่บ้าน
3. ด่านศรีสุข (Dan Si Suk) 9 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ท้องที่อําเภอโพธิ์ตากประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตําบลโพธิ์ตาก ครอบคลุมพื้นที่ตําบลโพธิ์ตากทั้งตําบล
องค์การบริหารส่วนตําบลโพนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตําบลโพนทองทั้งตําบล
องค์การบริหารส่วนตําบลด่านศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตําบลด่านศรีสุขทั้งตําบล
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านการศึกษา
สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอําเภอโพธิ์ตาก ประกอบด้วย
โรงเรียนประถมศึกษาแห่ง 9 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอ 1 แห่ง
ด้านสาธารณสุข
มีสถานพยาบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่อําเภอโพธิ์ตาก คือ
โรงพยาบาลโพธิ์ตาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโพธิ์ตาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโพนทอง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดอนไผ่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านด่านศรีสุข
สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปประชาชนอําเภอโพธิ์ตาก อยู่ในสังคมที่ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีตามบรรพบุรุษ ประเพณีที่ สําคัญ และมีการละเล่นที่เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ได้แก่ บุญมหาชาด สงกรานต์ บุญบั้งไฟ ลอยกระทง บุญออก พรรษา ภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในการสื่อสาร คือ ภาษาอีสานและภาษาไทพวน ความเชื่อเรื่องต่างๆ ของคนบางกลุ่ม เช่น ดอนปู่ตาแต่ละหมู่บ้าน
ด้านสังคม มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกันไม่มากนัก โดยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรมีฐานะปานกลาง ยึดมั่นในประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น มีความเชื่อและศรัทธาในความเชื่อ และประเพณีท้องถิ่นและยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ
สภาพเศรษฐกิจ จําแนกได้ 2 ลักษณะ คือ เศรษฐกิจที่มาจากภาคการเกษตรกรรม และเศรษฐกิจ ที่มา จากนอกภาคเกษตรกรรม เศรษฐกิจที่มาจากภาคการเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรใน พื้นที่เท่าที่ ผ่านมาต้องเผชิญกับความเสี่ยงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ โรค ระบาดต่างๆ แล้วยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านราคา ด้านการตลาด ขายผลิตไม่ได้ หรือจําหน่ายได้ในราคาที่ ต่ําไม่คุ้มทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมามากมาย เช่น การอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง และ จังหวัดใหญ่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงาน
นอกจากรายได้ที่มาจากภาคการเกษตรแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนให้มีการจัดทําผลิตภัณฑ์ ประจําท้องถิ่น ตามนโยบาย “หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ส่งผลให้มีรายได้ส่วนหนึ่งที่มาจากภาคการเกษตร ลด ปัญหาการเคลื่อนย้ายอพยพแรงงานลง พืชเศรษฐกิจของอําเภอโพธิ์ตาก ได้แก่ข้าว ยาพารา มันสําปะหลัง ยูครา ลิปตัส สับปะรดและ อื่นๆ
ด้านการท่องเที่ยว อําเภอโพธิ์ตากมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญ ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ เพิ่มรายได้ให้ราษฎร คือ
1. เขื่อนน้ำทอน ตั้งอยู่ที่ บ้านสาวแล หมูที่ 4 ตําบลโพธิ์ตาก อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
2. หนองสิม (อบต.โพนทอง) ตั้งอยู่ที่ บ้านโพนทอง หมู่ที่ 1 ตําบลโพนทอง อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัด
หนองคาย
3. หนองหัวช้างบึงกาหม ตั้งอยู่ที่ บ้านกาหม หมูที่ 2 ตําบลโพนทอง อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
4. ป่าชุมชน ตั้งอยู่ที่ บ้านดงเหล่า หมู่ที่ 3 ตําบลโพนทอง อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
5. หนองโต้น หนองปลาขาว ตั้งอยู่ที่ บ้านโพนทอง หมูที่ 10 ตําบลโพนทอง อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัด
หนองคาย
6. น้ำตกห้วยหินขาว ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยหินขาว หมู่ที่ 15 ตําบลด่านศรีสุข อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย
7. น้ำตกสาวหลง ตั้งอยู่ที่ บ้านศูนย์กลาง หมู่ที่ 3 ตําบลด่านศรีสุข อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
8. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ําทอน ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนขนุน หมู่ที่ 5 ตําบลด่านศรีสุข อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัด
หนองคาย
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก จัดตั้งตามอนุสนธิประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2540 เนื่องจากนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ได้มีการตั้งอำเภอในจังหวัดต่างๆและจัดตั้งเขตในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีความจำเป็นต้องขยายจุดบริการการศึกษานอกโรงเรียนให้มีสถานศึกษาครบตามจำนวนเขตในกรุงเทพมหานครและอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้บาริการประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่
ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พ.ศ. 2545 จึงได้จัดศูนย์บริการการศึกษาการนอกโรงเรียนอำเภอโพธิ์ตากขึ้น ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ 2551 ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
เพื่อให้การปฏิบัติงานตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตากที่ว่าง ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสรีมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 270/2551 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2551 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดหนองคาย และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทน
จึงแต่งตั้งให้ข้าราชการครูรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอที่ว่าง จนกว่าจะมีการแต่งตั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดหนองคายจึงได้แต่งตั้งให้ข้าราชการครูรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งที่ 18/2551 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551
ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก
ห้องสมุดประชาชนอําเภอโพธิ์ตาก ตั้งอยู่ที่ บ้านสาวแล หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ประชาชนในเขตอําเภอที่บริการมีข่าวสารข้อมูลได้อ่านศึกษา ค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ และเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและเป็นที่เผยแพร่วัฒนธรรม และความบันเทิงสําหรับประชาชนด้านการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนอําเภอส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน และภาคีเครือข่าย
ห้องสมุดประชาชน มีบทบาทหน้าที่เป็นองค์กรหลักในชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของประชาชนกล่าวคือ
1. เป็นแหล่งความรู้ตลอดชีวิตของประชาชนโดยแบ่งเป็นแหล่งวิทยาการและสถานที่คนทุกเพศทุกวัยทุก สถานะจะมาใช้บริการเพื่อการนเรียนรู้และพัฒนาความรู้อย่างอิสระ
2. เป็นแหล่งที่ประชาชนจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง นอกเหนือไปจากการส่งเสริมการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
3. เป็นแหล่งที่กระตุ้นและตอบสนองความกระหายใคร่รู้ของประชาชนในชุมชนซึ่งจะรับรองการ เปลี่ยนแปลงใหม่ๆในชุมชน และขณะเดียวกันก็จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาขึ้นในชุมชนด้วย
4. เป็นแหล่งรวมความรู้ ข้อมูล มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ซึ่งเป็น ทรัพยากรของชุมชน
เข้าชม : 3475 |