[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้
โรคงูสวัด (Shingles) คืออะไร?
โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


โรคงูสวัด (Shingles) คืออะไร?

https://www.honestdocs.co/shingles

https://www.honestdocs.co/

ทุกๆ 1 ใน 3 ของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นโรคงูสวัด
โรคงูสวัด (Shingles) เรียกอีกชื่อว่า ซอสเตอร์ (Zoster) หรือเฮอร์*** ซอสเตอร์ (Herpes zoster) เป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Chicken pox) ถึงแม้โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ได้อันตรายถึงชีวิต แต่จะทำให้เกิด ผื่นที่เจ็บปวดมากตามร่างกายตำแหน่งไหนก็ได้ โดยส่วนมากจะเป็นลายผื่นตุ่มพุพองหนึ่งลายตามแนวยาวด้านหนึ่งของลำตัว
หน่วยป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (The Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) รายงานว่า ทุกๆ 3 คน ในสหรัฐอเมริกา จะมี 1 คนที่เป็นโรคงูสวัดในช่วงๆ หนึ่งของชีวิต โดยประมาณไว้ว่า ในหนึ่งล้านรายที่เป็นโรคงูสวัดในแต่ละปี ครึ่งหนึ่งจะเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ในความเป็นจริง ครึ่งหนึ่งของผู้ที่อายุถึง 85 ปี จะเป็นโรคงูสวัด ซึ่งส่วนมากคนที่ได้รับการรักษาเร็ว อาการจะดีขึ้น และหายจากโรคภายใน 3-5 สัปดาห์ โดยตุ่มพุพองนั้นไม่ได้ทิ้งรอยแผลเป็นไว้
สาเหตุของโรคงูสวัด
ดังที่กล่าวไป โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเชื้อไวรัสเฮอร์*** (Herpes virus) โดยกลุ่มเชื้อไวรัสเฮอร์*** (Herpes virus) นี้ยังทำให้เกิดโรคเริมบริเวณริมฝีปาก และโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใส ไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริมบริเวณริมฝีปาก (Herpes simplex virus ชนิดที่ 1) และโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ (Herpes simplex virus ชนิดที่ 2)
ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วจะสามารถเป็นโรคงูสวัดได้ทุกคน แม้ว่าจะเป็นเด็กก็ตาม เนื่องจากเมื่อเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus) นั้นจะเข้าไปหลบอยู่ในเนื้อเยื่อประสาทบริเวณไขสันหลังและสมอง เมื่อเชื้อไวรัสถูกกระตุ้นอีกครั้ง เชื้อไวรัสนั้นก็จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นประสาทสู่ผิวหนังทำให้เกิดโรคงูสวัด โดยส่วนมากคนที่เคยเป็นโรคงูสวัดแล้วจะไม่เป็นโรคงูสวัดซ้ำอีก แต่ในบางคนก็อาจจะเป็นโรคงูสวัดซ้ำใหม่ในรอบที่ 2 หรือ 3 ได้
ปัจจัยเสียงต่อโรคงูสวัด
โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดนั้นเพิ่มขึ้นตามจำนวนอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่ออายุมาก ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่ำลง
คนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดมากกว่าคนอื่น ได้แก่
•  คนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น จากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) หรือจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV/AIDS)
•  คนที่กินยากดภูิมคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ (Steroid) หรือยาอื่นๆ ที่ได้หลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplant)
โรคงูสวัดติดต่อได้หรือไม่?
โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus) สามารถติดต่อไปสู่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใสได้ เช่น คนที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีกสุกอีใสมาก่อน โดยติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ในขณะที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อมาแล้วก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่เกิดเป็นโรคงูสวัด
เมื่อผื่นโรคงูสวัดถูกปิดไว้ ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสนั้นก็จะน้อยลง อย่างไรก็ตาม โรคอีสุกอีใสนั้นอันตรายต่อกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่นทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ และใครก็ตามที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเพราะฉะนั้นหากป่วยเป็นโรคงูสวัดอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ กลุ่มคนดังที่กล่าวไป จนกว่าผื่นตุ่มพุพองนั้นจะตกสะเก็ดจนหมด
วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ได้แก่
•  ปกปิดรอยผื่น
•  หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือเกาผื่น
•  หมั่นล้างมือบ่อยๆ
โรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์
โรคงูสวัดเป็นโรคที่พบได้ยากในหญิงตั้งครรภ์ แต่หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคงูสวัดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากก็มีความเห็นว่า โรคงูสวัดนั้นไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามหากหญิงตั้งครรภ์คนนั้นยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะปอดอักเสบ (Varicella pneumoniae' target='_blank'>pneumonia) ได้ร้อยละ 10-20 ซึ่งภาวะปอดอักเสบนี้เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคงูสวัด จากการรายงานของสำนักงานสาธารณสุขแห่งมลรัฐมิสซูรี่ (Missouri Department of Health and Senior Services)
หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสในครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิด หรือแท้งบุตรได้ร้อยละ 0.4-2 หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสในครึ่งที่สองของการตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาก็อาจติดเชื้อไวรัสนั้นได้ โดยที่ไม่มีอาการใดๆ เลย และเมื่อโตขึ้นก็อาจเกิดโรคงูสวัดได้
หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อไวรัส อาจได้รับการฉีดอิมมิวโนโกลบูลิน ที่ชื่อ Varicella-zoster immune globulin (VZIG) ซึ่งเป็นการฉีดภูมิคุ้มกันเข้าไปโดยตรง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกทั้ง ทารกแรกเกิดที่มารดามีผื่นขึ้น 5 วันก่อนคลอดจนถึง 2 วันหลังคลอด ทารกเหล่านั้นควรจะได้รับการฉีดอิมมิวโนโกลบูลิน (VZIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อวาริเซลลาในทารกแรกเกิด (Neonatal varicella) ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 30



เข้าชม : 265





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอโพธิ์ตาก  จังหวัดหนองคาย 0-4248-3258 , Fax  0-4248-3258 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์, นายศุภกิตติ์ ถาวร